การรู้สารสนเทศ (Information Leteracy) หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่เกี่ยวกับสารสนเทศอันประกอบด้วย
1) การตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
2) มีความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
3) มีความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
4) มีความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
5) มีความสามารถในการใช้และถ่ายทอดสารสนเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บุคคลที่มีคุณสมบัติข้างต้น เรียกว่า "ผู้รู้สารสนเทศ" และจะพัฒนาให้กลายเป็น ผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learner) ต่อไป
การรู้สารสนเทศสำคัญอย่างไร?
การรู้สารสนเทศเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และมีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เหตุใดการรู้สารสนเทศจึงมีความสำคัญ?
1. สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
2. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บ และค้นหาสารสนเทศ
(Information Literate Person)
ผู้รู้สารสนเทศ หมายถึง บุคคลที่รู้ว่าจะเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างไร (People who have learned how to learn)
ความสามารถของผู้รู้สารสนเทศ มี 6 ด้าน ดังนี้
1. มีความตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศว่า ใช้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และช่วยในการทำงานหรือการเรียนได้ดีขึ้น
2. มีความสามารถและรู้ว่าจะได้สารสนเทศที่ตนต้องการได้จากที่ใด และจะสืบค้นสารสนเทศได้อย่างไร
3. มีความสามารถในการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้อย่างมีวิจารณญาณ
4. มีความสามารถในการประมวลสารสนเทศ คือการคิดและการวิเคราะห์สารสนเทศที่ได้มา
5. มีความสามารถในการใช้และสื่อสารสารสนเทศให้บรรลุวัตถุประสงค์ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. มีความเข้าใจประเด็นต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศ ตลอดจนการเข้าถึงและการใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
ผู้เรียนที่เป็นผู้รู้สารสนเทศมีลักษณะอย่างไร?
1. มีความเป็นอิสระและมีศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. มีความต้องการสารสนเทศ
3. รู้ว่าอะไรคือสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ
4. สามารถใช้และมีความมั่นใจในสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้
5. รู้จักใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีต่างๆเพื่อการเข้าถึงและสื่อสารสารสนเทศ
ที่มา : http://vdo.kku.ac.th/mediacenter/mediacenter-uploads/libs/html/1071/Lesson1/Frameset.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น